ฮาละหว่า เส่งเผ่

เส่งเผ่ และฮาละหว่า 
           เส่งเผ่ และฮาละหว่า เป็นชื่อของขนมหวานของชาวไทยใหญ่ “เส่งเผ่” มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน “ฮาละหว่า” ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด

วิชาการงานอาชีพ
ส่วนผสมขนมฮาละหว่า
1. แป้งข้าวเจ้า 2 กิโลกรัม
2. กะทิ 5 กิโลกรัม
3. น้ำตาล 3  กิโลกรัม
4. เกลือ 1 กรัม
5. สาคู 1 ขีด

วิธีทำ
1.นำแป้ง กะทิ และน้ำตาล ผสมกัน ตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้เข้ากันจนสุก
2. เทส่วนผสมที่ได้ ลงในถาดกลมขนาดใหญ่ ใช้หัวกะทิเทราดหน้าขนม
3. ใช้กาบมะพร้าวเผา โดยใช้สังกะสี รองหน้าขนมไว้ เผากาบมะพร้าวจนหน้าขนมเหลือง
     สวยงาม
4. เมื่อขนมเย็น  ตัดเป็นชิ้นๆแล้วรับประทาน

ส่วนผสมขนมเส่งเผ่
1.ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาล 5 กิโลกรัม
3. กะทิ 7 กิโลกรัม
4. เกลือ 2 กรัม

วิธีทำ
1.นำข้าวเหนียวแช่แล้วนึ่ง 
2.นำน้ำตาล กะทิ และข้าวเหนียวมากวนให้เข้ากัน จนแห้ง ใส่เกลือพอประมาณ
3. เทใส่ถาด นำหัวกะทิมาเทหน้าขนม และเผากาบมะพร้าวเหมือนกับฮาละหว่า

                                              
                                     วิชาภาษาไทย

 กลอนสุภาพ
                                              ฮาละหว่า เส่งเผ่
                     แป้งข้าวเจ้ากะทิน้ำตาลทราย      ก่อนจะกลายมาเห็นเป็นขนม
             ทางภาคเหนือไทยใหญ่ได้นิยม       เรียกขนมฮาละหว่าน่าประทาน
             ส่วนเส่งเผ่นั้นเล่าใช้ข้าวเหนียว          กะทิเคี่ยวลงตามน้ำอ้อยหวาน
             สองสิ่งนี้คู่ขากันมานาน            จากเพื่อนบ้านพม่ามาสู่ไทย
             จะหากินได้ไม่ยากนัก              ไม่รู้จักถามหาแม่ค้าได้
             ฮาละหว่าเส่งเผ่คือสิ่งไร             แล้วจะได้ลิ้มลองของหวานมัน
             เป็นของว่างของฝากก็หาได้          ถ้ามีใครชื่นชมขนมหวาน
             ถ้ากลัวอ้วนระวังโรครังควาน         ค่อยรับประทานแต่น้อยค่อยพอดี








วิชาสุขศึกษา
ด้านร่างกาย
ด้านบวก
ถ้าเรารับประทานขนมฮาละหว่า-เซ่งเผ่ พอประมาณไม่มากเกินไปจะทำให้ร่างกายเรานำสารอาหารที่ได้ คือ แป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน   ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ มีการเจริญเติบโตที่สมส่วน มีภาวะโภชนาการดีจะมีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์เมื่อเทียบน้ำหนักกับส่วนสูงจะอยู่ในระดับปกติไม่อ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป


ด้านลบ
ถ้าเรารับประทานขนมฮาละหว่า-เซ่งเผ่ มากเกินไป แล้วไม่ออกกำลังกายจะทำให้มีภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคข้อเสื่อม เป็นต้น  และจะทำให้เรามีน้ำหนักมากกว่าเกิน



ด้านจิตใจ
ด้านบวก
จะทำให้มีสุขภาพจิตใจดี ไม่เครียดเกี่ยวกับรูปร่างของตนเอง มีความสุขในเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิต  จะมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไปหรือน้อยเกินไป รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่เกินโรคอ้วนเกินไป หรือ ผอมเกินไป ทำให้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างของตนเอง



ด้านลบ
จะทำให้เครียดเรื่องรูปร่างของตน ไม่พอใจในรูปร่าง  เพราะ กินของที่มีไขมันมากเกินไป ไม่รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นโรคอ้วนง่าย แล้วเครียด ไม่มีความสุขในเรื่องต่างๆ เนื่องจากมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม มักนิยมกินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง กินผัก และ ผลไม้น้อย และออกกำลังกายไม่เหมาะสม

ด้านอารมณ์
ด้านบวก
ทำให้มีอารมณ์ดี  พออกพอใจในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องรูปร่างของตนเอง ไม่วิตกกังวลในเรื่องรูปร่าง เพราะกินอาหารที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ไม่กินอาหารประเภทไขมันมากเกินไปหรือที่มีคาร์โบไฮเดรต สูงเกินไป 

ด้านลบ
มีอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย  รู้สึกไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง   วิตกกังวล  เพราะ รับประทานอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จึงทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา   ออกกำลังกายไม่เหมาะสม  จนทำให้อารมณ์เสียอยู่บ่อยๆ  ไม่มั่นใจในตนเอง



ด้านสังคม
ด้านบวก
ถ้าเราอยู่ในสังคมที่ดี   ครอบครัวดูแลอย่างเหมาะสม ให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ ดูแลสั่งสอนลูก คอยตักเตือนเมื่อลูกทำผิด ทำให้ลูกเข้าสังคมได้ดี ไม่เกิดการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น  รู้จักแบ่งปันสิ่งต่าง  มีพัฒนาการที่ดีและมีการเจริญเติบโตที่สมส่วน ตามเกณฑ์  สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



ด้านลบ
ถ้าเราอยู่ในสังคมที่ไม่ดี  ครอบครัวทะเละกัน  ไม่ดูแลสั่งสอนลูก   เลี้ยงดูไม่เหมาะสม  จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะ ไม่มีใครคอยดูแลสั่งสอน
เข้าสังคมกับผู้อื่นไม่ได้  มีร่างกายที่ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยได้ง่าย เพราะ ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายจึงทำให้เกิดโรคได้ง่าย  และไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้


ด้านสติปัญญา
ด้านบวก
ทำให้มีสติปัญญาที่ดี  มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เนื่องจาก ได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่  จึงทำให้มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว  รู้จักคิด   วิเคราะห์ ปัญหาต่างๆที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน รู้จักการแก้ไขปัญหา
เฉพาะหน้า   และ มีความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ



ด้านลบ
มีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ เนื่องจาก ได้รับสารอาหารที่น้อยเกินกว่าปกติ  และครอบครัวไม่คอยดูแลเอาใจใส่  ไม่อบรมลูก คอยบอก  คอยสอนลูกให้ได้รู้จักสิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาในชีวิต   ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ช้ากว่าคนปกติ   เรียนรู้ในสิ่งต่างๆช้ากว่าปกติ 


วิชาภาษาอังกฤษ

Ingredients  :  1 Tray

Halawha
Coconut milk                                                                                             5   kg.
Rice flour                                                                                                  2   kg.
Sugar                                                                                                         3   kg.
Salt                                                                                                            1   g.
Sago                                                                                                          1   l.

Sengplay
Glatinous rice                                                                                           5   kg.
Sugar                                                                                                         5   kg
Coconut milk                                                                                             7   kg.
Salt                                                                                                                                                   2  kg.

วิชาวิทยาศาสตร์
การทดสารอาหารในฮาละหว่า- เส่งเผ่ ที่ให้พลังงาน
วิธีทำกิจกรรม
1.ใส่ฮาละหว่า 1 ช้อน เบอร์ 1 ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง ซึ่งมีน้ำบรรจุอยู่ 6 cm³ เขย่าให้เข้ากัน แล้วแบ่งเป็น 3 หลอด หลอดละ 2 cm³
2. หยดสารที่ใช้ทดลอง แล้วนำหลอดที่ 3 ไปต้มในน้ำเดือด 2 นาที สังเกตผลการทดลองทั้ง 3 หลอด บันทึกผล
3. นำฮาละหว่าจำนวนครึ่งช้อนเบอร์ 1 ไปถูกับกระดาษสีขาว ประมาณ 5-6 ครั้ง หลังจากนั้นยกกระดาษไปทางที่มีแสงผ่านสังเกตว่าโปร่งแสงหรือไม่ บันทึกผล
4. ทำการทดลองเช่นเดียวกับ ข้อ 1-3 แต่ใช้เส่งเผ่
ตารางบันทึกผลการทดลอง
อาหาร
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
สารละลายไอ
โอดีน
สารละลายคอปเปอร์ (II)ซัลเฟตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์(การทดสอบไบยูเร็ต)
สารละลายเบเนดิกต์หลังต้ม
ถูกับกระดาษขาว
ฮาละหว่า
ม่วงเข้ม
-
-
โปร่งแสง
เส่งเผ่
ม่วงเข้ม
-
-
โปร่งแสง


สรุปผล
ในฮาละหว่าและเส่งเผ่ มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเมื่อหยดสารละสายไอโอดีนจะได้ตะกอนสีม่วง และมีสารอาการประเภทมัน ซึ่งเมื่อนำไปถูกับกระดาษขาว  กระดาษจะเป็นมันและโปร่งแสง

วิชาสังคมและประวัติศาสตร์
ผู้ให้สัมภาษณ์
            นางศรีวรรณา   คำเอี่ยม   เกิดวันที่ 15 เมษายน 2465   อายุ 89 ปี   อยู่บ้านเลขที่ 129          ถนนศรีภานิช  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก

เมืองแม่สอด
เมืองแม่สอดสมัยก่อน
-  ลำห้วย  ลำห้วยแม่สอดต้นน้ำไหลมาจากบนดอยภูเขาผ่านหมูบ้านกะเหรี่ยง  บ้านขุน
ห้วยแม่สอด  เดี๋ยวนี้เป็นที่ที่กำลังเจริญ  เพราะกำลังสร้างโรงเรียนคุณหญิงทวีมณีนุต  และกำลังสร้างวังถวายพระเทพพระรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  น้ำไหลลงสู่แม่น้ำเมย  มีผู้คนปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามสายแม่น้ำที่หมู่บ้านหัวฝาย  เพราะมีฝายกั้นน้ำไว้ทำไร่  ทำนา   น้ำไหลผ่านตัวเมืองอำเภอแม่สอด  และไปสิ้นสุดลงที่แม่น้ำเมย   ลำห้วยแม่ตาวไหลมาจากดอยผาแดง  เป็นภูเขาแหล่งเหมืองแร่  ผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยงมีหมู่บ้านชาวพื้นเมืองอยู่อาศัยอยู่ที่ลำห้วยแม่ตาวนี้มาก  ทุกหมู่บ้านจะขึ้นต้นด้วยคำว่า แม่ตาว  แม่น้ำเมย  เป็นเส้นกั้นอาณาเขตของประเทศพม่ากับประเทศไทย   ต้นน้ำอยู่เหนืออำเภออุ้มผางขั้นไป  และไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน

-  การเดินทาง , การคมนาคม   การเดินทางติดต่อกับจังหวัดตาก   ล้วนเป็นภูเขาทั้งสิ้น  อำเภอ
แม่สอดสมัยก่อนมีเพียงอำเภอเดียว  นอกนั้นจะเป็นกิ่งอำเภอ  การเดินทางติดต่อกันจะใช้การเดิน  การขี่ม้า  การขี่ช้าง  และการขี่เกวียน  ในสมัยนั้นไม่มีรถเลย  แม้แต่รถจักรยานก็ยังไม่มี  

     - การทำมาหากินเลี้ยงชีพตนเอง  ของกิน  ของใช้  โดยมากจะมาจากประเทศพม่า  ประเทศพม่าในตอนที่เป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาก  มีทางล้อทางรถติดต่อกันได้ มีชาวพม่า แขก นำเอาสินค้าพม่า อินเดียมาตั้งร้านค้าใหญ่โต คนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นคนยากจนหนีจากทางภาคเหนือของไทย  ไปจับจองที่ดินโดยไม่ต้องซื้อหา คนขยันก็มีมากเหลือกินเหลือใช้มีพื้นที่ปลูกไร่สวน คนขี้เกียจก็เอาพอกินไปวันๆเพราะเหลือก็ขายไม่ได้ เพราะทุกคนยากจนไม่มีเงิน ไม่มีช่องทางหาเงิน ขยันหน่อยก็ไปเป็นคนหาม หาบรับจ้างจากตัวจังหวัด ถึงอำเภอแม่สอด  สินค้าจากตัวจังหวัดมาอำเภอแม่สอด ก็อาศัยวัว ช้างต่างหาบหาม เจ็บป่วยตายตามกลางทางก็มีมากมายทั้งสัตว์ทั้งคน เพราะมันต้องผ่านดงเสือ ดงหมี อันตรายทั้งนั้น

-สภาพชุมชน ก็อยู่กันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีหัวหน้าหมู่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้าน หลายหมู่บ้านรวมกันเรียกว่าตำบล มีหัวหน้าผู้ปกครองตำบล มีคำนำหน้าว่า ท่านขุนฯ ถ้ามีเรื่องอะไรก็ต้องไปให้ผู้ใหญ่บ้านตัดสินใจก่อน เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ไปหาท่านขุนฯ และถ้าเป็นเรื่องที่ท่านขุนฯตกลงให้ไม่ได้ ก็ต้องไปอำเภอ หรือ โรงพัก โจรผู้ร้ายชุชุมมมาก
-สภาพแม่สอด แม่สอดเมื่อก่อนมีถนนสองสาย คือ ถนนหน้าอำเภอ ที่ตรงนั้นมีทั้งไปรษณีย์ โรงพัก รวมกันอยู่ที่เดียวกันหมด และได้มีโจรกะเหรี่ยงเข้ามาเผาทั้งอำเภอไปรษณีย์ โรงพัก ปล้นเอาทรัพย์สิน จับคนไปเรียกค่าถ่าย หลังสงครามญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมาแม่สอดจึงแยกสถานที่ราชการ ออกจากกันหมด

-สงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่ายังอายุไม่ถึงขวบ ข่าวประกาศมาว่า ญี่ปุ่นบุกกรุงเทพ ขอผ่านไปประเทศพม่า ต่อมาอีกหลายวัน  ก็มีกองทัพทหารญี่ปุ่นเต็มแม่สอดทุกซอกทุกซอย พักอยู่ตามวัดเต็มไปหมด พักอยู่ในสวนใต้ถุนยุ้งข้าว อาหารผักผลไม้ขาดีเป็นเทน้ำเทท่า สินค้าผ้าผ่อนขาดตลาดไปหมด ไม่มีสินค้าเข้ามาเลย ทำให้มีราคาแพงมาก ชาวบ้านจึงต้องรีบปลูกฝ้ายปั่นทอใช้ตามชนบท  บ้านนอกทุครัวเรือนรัดเข็มขัดอยู่ไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องนุ่งห่ม แม้แต่สบู่ก็ไม่มีให้ซักผ้า คนมีหัวการค้าก็ร่ำรวยมหาศาล ออกรับซื้ออาหารส่งญี่ปุ่น คนทำมาค้าขายที่ไม่ยากจนก็พากันยากจน เลือดตาแทบกระเด็น ญี่ปุ่นยังทำการตัดทางรถจากจังหวัดตาก- อำเภอแม่สอด และมาทางท่าสองยาง แม่ระมาด ให้ค่าแรงสูง ชาวบ้านชาวนาพากันไปรับจ้าง   ไม่มีคนทำนาผลคือไม่มีข้าวกิน งานสร้างทางก็หมด อดกินข้าวเป็นแถวบ้านไหนเก็บข้าวเปลือกไว้มากเขาก็ไม่เดือดร้อน ขายข้าวได้ราคาดี  ทำให้ข้าวขาดตลาดต้องซื้อข้าวจากพม่า ทุกอย่างหมด แม้แต่ไม่ขีดไฟ ต้องใช้วิชาคนโบราณทำ ดีที่คนแม่สอดมีน้ำมัน เขาเอามีดเหล็กกล้าตัดเป็นขนาด 2 นิ้วมือ ใช้ลำสีที่ได้จากต้นนุ่น นำฝ้ายมาแนบกับหินใช้เหล็กตีมันจนเกิดเป็นลูกไฟเล็กมาติดสำลี เป่าลมหรือแกว่งให้ลูกเป็นไฟ เอาจุดกับเทียนไข สงครามญี่ปุ่นทำเอาคนแม่สอดทุกข์จริงๆ คนที่โชคดี ค้าขายกับญี่ปุ่นก็ร่ำรวย คนต่างด้าวพวกพม่าที่เข้ามาค้าขายก็เอาโรคต่างๆมาแพร่ระบาด เช่น อหิวา โรคหิด โรคเหา ไข้ทรพิษ เต็มไปหมด เรื่องที่น่ากลัวมากที่สุดคือ มีเสียงระเบิดดังตลอดทั้งวันทั้งคืน จนไม่เป็นอันทำมาหากิน ญี่ปุ่นต้องทำลายระเบิดที่อังกฤษได้ฝังไว้ตลอดทาง ญี่ปุ่นเข้ามาเงินพม่า อังกฤษก็หมดไป เราเริ่มใช้เงินไทยมาตลอด 
สุดท้ายนี้ที่เล่ามาเรารู้แต่เรื่องความเป็นอยู่ ส่วนเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองส่วนลึก เขาไม่มีการเปิดเผยให้ชาวบ้านรู้ ทุกอย่างเป็นความลับ สงครามญี่ปุ่นเลิกได้ไม่นานก็มีการสร้างทางจากจังหวัดตากมาอำเภอแม่สอด คนแม่สอดจึงได้ลืมตาอ้าปากมาถึงปัจจุบันนี้








ประวัติขนมฮาละหว่า – เส่งเผ่

เส่งเผ่ และฮาละหว่า เป็นชื่อของขนมหวานของชาวไทยใหญ่ เส่งเผ่มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน ฮาละหว่าตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด



วิชาคณิตศาตร์
ส่วนผสมโดยประมาณโดยเขียนเป็นอัตราส่วน
ฮาละหว่า
กะทิ 5 กิโลกรัม ,แป้ง 2 กิโลกรัม ,น้ำตาล 3กิโลกรัม
เขียนได้โดย กะทิ: แป้ง: น้ำตาล = 5:2:3
เส่งเผ่
ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม, น้ำตาล 5 กิโลกรัม, กะทิ 7 กิโลกรัม
เขียนได้โดย ข้าวเหนียว:น้ำตาล:กะทิ = 5:5:7