สังคมศึกษาฯ

การออมและการลงทุน

การออม
         การออม คือ รายได้เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่ ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยออกไปนี้เรียกว่า เงินออม Incomes-Expenses=Savings
โดยทั่วไป การออม จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่ายของเขา ทางที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่ บุคคล อาจทำได้โดย การพยายามหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการทำงานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงาน ที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น การลดรายจ่าย ลงด้วยการรู้จักใช้จ่าย เท่าที่จำเป็น และเหมาะสมก็จะทำให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือน
ความสำคัญของเงินออม


         เงินออมเป็นปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายซึ่งบุคคลกำหนดไว้ในอนาคตบรรลุจุดประสงค์ เช่น กำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะต้องมีบ้าน เป็นของตนเองในอนาคตให้ได้ เงินออมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดเป้าหมายที่วางไว้เป็นจริงขึ้นมาได้ นอกจากนี้เงินออม ยังใช้สำหรับแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนทางการเงิน ที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงของบุคคลได้ด้วย ดังนั้นบุคคลจึง ควรมีการออม อย่างสม่ำเสมอในชีวิต
สิ่งจูงใจในการออม  การที่คนเรามี "เป้าหมาย" อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตกำหนดไว้อย่างชัดเจนแน่นอน ก็จะทำให้เกิดความกระตือรือร้น ที่จะเก็บออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคลอาจแตกต่างกัน แล้วแต่ความจำเป็นและความต้องการของเขา และยังขึ้นอยู่กับ ความหวังและความทะเยอทะยานในชีวิตของเขาด้วย ตัวอย่างเช่น บางคนอยากมีบ้านและที่ดินเป็นของตังเอง อยากจะมีการศึกษาสูง อยากมีชีวิตที่สุขสบายในยามปลดเกษียณ หรือหวังที่จะให้ลูกหลานมีหลักฐานมั่นคง ดังนั้นเป้าหมายในการออมแตกต่างกันนี้ จะเป็นสิ่งที่กำหนดให้จำนวนเงินออม และระยะเวลาในการออมแตกต่างกันไป

การปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี
         เงินสดส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนจะมีเงินคงเหลือเป็นเงินออมเท่าไหร่ ในทางปฏิบัติ เพื่อให้การออมได้ผลจริงๆ ควรจัดทำดังนี้
  - ทางที่จะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีการออมได้หรือไม่นั้นก็โดย การจัดทำงบประมาณการเงิน ทำงบประมาณรายได้ รายจ่าย เพื่อจะรู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร
  - เมื่อทำงบประมาณและทราบได้ว่า จะสามารถเก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่แล้วให้กันเงิน ออมส่วนนั้น (ก่อนที่จะจ่ายเป็นรายจ่ายออกไป ) แล้วนำไปฝากธนาคารทันที  รายได้ที่เกิดขึ้นจากเงินออม เช่น ดอกเบี้ยที่ได้รับ ควรนำไปลงทุนต่อทันที เพื่อให้เงินออมงอกเงยขึ้น ไปอีก การเก็บรักษาเงินออม ให้ปลอดภัย นั้นเงินออมการเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังควร เก็บรักษาไว้ ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจจะเก็บออม ในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้ และสามารถเปลี่ยนมาเป็น เงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่างๆ ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวม หรือซื้อหุ้นของบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ


ปัจจัยสำคัญในการออม
         1.ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม หมายความว่าถ้ายิ่งผลตอบแทนในการออมเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น ในภาวะที่รัฐบาล กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ ทุกประเภทลง ทั้งยังเก็บดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทำให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก
         2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจทำ การออมมากขึ้นภายหลังจาก การพิจารณาถึง อำนาจซื้อของเงิน ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า จะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินใน อนาคตมักหมายความว่าจำนวนเงิน 1 บาท ซื้อสินค้าและบริการ ได้ในจำนวนใกล้เคียง หรือเท่ากับการใช้เงิน 1 บาทซื้อสินค้าหรือบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านว่าการเก็บเงินออมไว้โดยไม่ยอมซื้อสินค้าขณะนี้ ท่านอาจจะสูญเสียความพอใจ ที่ควรได้รับจาก การซื้อสินค้า ในปัจจุบัน มากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจาก การออม ทั้งยังเสียเวลาคอยที่จะซื้อสินค้าในอนาคต ที่อาจมีราคาสูงมากกว่า อัตราผลตอบแทน ที่ได้รับอีกด้วย ดังนั้นถ้าท่านพอใจทีจะซื้อสินค้าในวันนี้มากกว่าการหวังผลตอบแทนที่จะได้รับเพิ่มขึ้นในอนาคต ท่านก็จะมี การออมลดลง
         3.รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ ผู้ที่มีรายได้คงที่แน่นอนเป็นประจำทุกเดือนในจำนวนที่ไม่สูงมากนักเช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชนระดับต่ำ จำนวนเงินออมที่กันไว้อาจเป็นเพียงจำนวนน้อยตามอัตราส่วนของรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งต่างจากจำนวนเงินออมของผู้บริหารระดับสูง หรือนักการเมืองที่จะมีเงินเหลือออมได้มากกว่า นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงรายได้เนื่องจาก การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายงานการถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ที่มีผลต่อระดับการออมเช่นกัน คือ อาจทำให้มีการออมเพิ่มมากขึ้น หรือลดลงไปจากระดับเดิมได้ ดังนั้นในระหว่างที่ท่านมีรายได้มากกว่าปกติ หรือในขณะที่ท่านมีความสามารถ หารายได้ได้ อยู่จึงควรจะมี การออมไว้เพื่อป้องกัน ปัญหาทางการเงิน อันอาจเกิดขึ้นได้ดังกล่าวแล้ว
         4. ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตหลังการเกษียรอายุ ถ้าผู้มีรายได้ทุกคนทราบได้แน่นอนว่าเมื่อใดก็ตามที่ท่านไม่มีความสามารถหารายได้ได้อีกต่อไป ท่านก็จะไม่มีปัญหาทางการเงิน เกิดขึ้น หรือถ้ามีก็ไม่ใช่ปัญหาที่รุนแรงมากนัก เนื่องจากหน่วยงานที่ท่านเคยทำงานอยู่ มีนโยบายช่วยเหลือ ท่านในวัยชราหลัง เกษียรอายุ หรือภายหลังออกจากงานก่อนกำหนด เช่น นโยบายการให้บำนาญ บำเหน็จ เงินชดเชย เป็นต้น ดังนั้นผู้ออมอาจมีการออมลดลง เพื่อกันเงินไว้ใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่ทำให้จำนวนเงินรวมในอนาคตกระทบกระเทือนแต่ประการใด
เงินออมควรเก็บรักษาอย่างไรจึงจะปลอดภัย การเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเงินออมควรเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจเก็บออมในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้และสามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่าง ๆ ตั๋วสัญญาของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ


การลงทุนของบุคคล
         ทำไมบุคคลจึงต้องลงทุน (Why Invest)
         โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่ง เก็บออม ไว้สำหรับ ใช้จ่ายในวันข้างหน้า การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นใน ชีวิตประจำวันของบุคคล เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าสามารถ จัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมี เงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มากขึ้น การที่คนเรา เก็บออมก็เพราะ ได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้ เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า จะให้ประโยชน์คุณค่า หรือ ความพอใจสูงสุด แก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้ ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออม ที่อุตส่าห์สะสมไว้ เพิ่มพูนค่าและ ก่อให้เกิด ประโยชน์ สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก "การลงทุน " (Investments) การลงทุนเป็น การนำเอาทรัพย์สิน ที่บุคคลมีอยู่ ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น


การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
         การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุนในสินทรัพย์ ที่ไม่เห็นประโยชน์ การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment)
การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จาก ทรัพย์สินที่เราลงทุน เป็นเจ้าของ ไว้โดยตรงได้ อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment
ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments สำหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่ในประเภทของการลงทุนทางการเงิน เป็นส่วนใหญ่


การลงทุนทางการเงิน (Financial investments) 
         สิ่งที่ได้รับจากการลงทุน เช่น เมื่อซื้อหุ้นของบริษัทได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล  หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงิน โดยทั่วไป มักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน  วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล Dividend) กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง


เงินเพื่อการลงทุน ได้มาจากไหน (Money For investing)
         เงินสำหรับนำมา ลงทุน ได้มาจากแหล่งใด หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไร ถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่อง การเงินของตนอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่ง เพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก
         1.การรู้จักทำงบประมาณ (Using budgets) เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนด ก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้
         2.การออมโดยวิธีบังคับ (Forced saving) ตามหลักของการจ่ายเงินเดือน ซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าว ไปให้สถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สามเป็น ผู้ดูแลหาผลประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เ จ้าของผู้มีสิทธิ ได้รับเมื่อถึงเวลา เงินออมโดยโดยวิธีบังคับ จึงเป็น เงินลงทุน ทางหนึ่งของบุคคล เพียงแต่เขาไม่ได้เป็น ผู้ลงทุนเองโดยตรงแต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้
         3.การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง (Skip an expenditure) เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้
         4.การประหยัดรายได้พิเศษ (Save the nonroutine incomes) บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายพิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่า ที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก


ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)
         การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน มีหลายรูปแบบได้แก่
  ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล ในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตร หรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้
  ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร
  ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า ก็จะมีรายได้ ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ
  ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิในหารออกกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนดนโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น
ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเอง ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับ สักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึง เรื่องผลตอบแทนผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return
         Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงทีจะได้รับ โดยได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทน ที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทประกาศไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 10 % ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 6 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 4 % เท่านั้น
         นอกจากนี้ในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงในเรื่อง ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย (Interest on interest) ที่จะได้รับด้วย โดยคำนึงถึง ดอกเบี้ยทบต้น ในการลงทุนการซื้อพันธบัตร ซึ่งให้ดอกเบี้ยประจำทุก ๆ งวด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยได้รับไปใช้จ่าย ผลตอบแทนทีจะได้รับก็จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในพันธบัตรนั้น แต่ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดไปลงทุนต่อ ดอกเบี้ย ดังกล่าวจะกลายเป็น เงินต้นของงวดถัดไป ตามหลักของดอกเบี้ยทบต้นก่อให้เกิดดอกผลตามมา ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดเวลา ก็จะได้รับเงินต้นคืน พร้อมผลตอบแทน ได้อีกมาก ซึ่งสรุปแล้ว ก็คือ อัตราผลตอบแทนได้รับจริงจะสูงกว่าที่ได้ประกาศไว้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องนำดอกผลที่ได้รับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) อย่างส่ำเสมอเท่านั้น


หลักการลงทุน


         หลักการลงทุนที่สำคัญมีอยู่ 6 ประการคือ
         1.ความปลอดภัยของเงินลงทุน (Security of principal) หมายถึงการลงทุนที่มุ่งรักษาไว้ซึ่งเงินลงทุน โดยหวังที่จะได้รับเงินเงินลงทุนเป็นการแน่นอน นโยบายการลงทุนแบบนี้เป็นนโยบายค่อนข้าง
Conservative เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เงินต้นสูญไป การลงทุนที่ยึดถือหลักความปลอดภัยได้แก่ การฝากเงินกับธนาคาร หรือการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล เป็นต้น
         2.เสถียรภาพของรายได้ (Stability of income) หมายถึง การลงทุนที่ให้รายได้โดยส่ำเสมอ หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นการแน่นอนและสม่ำเสมอ ผู้ลงทุนธรรมดา ที่ไม่ใช่นักเก็งกำไรมักต้องการได้รับดอกเบี้ย หรือปันผลเพื่อจะนำไปใช้จ่ายตามความต้องการได้ ดังนั้น การฝากธนาคารหรือลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ได้รับดอกผลอย่างสม่ำเสมอ
         3.ความงอกเงยของเงินลงทุน (Capital growth) โดยทั่วไปแล้วผู้ลงทุนมักจะตั้งความมุ่งหมายไว้ว่า เงินที่เขาลงทุนไปนั้นจะต้องมีค่าเพิ่มพูนขึ้น ความงอกเงยของเงินทุนเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่กำลังขยายตัว
         4.ความคล่องตัวในการซื้อขาย (Marketability) หมายถึง การเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อง่ายขายคล่อง คือเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด หลักทรัพย์บางชนิดจำหน่ายได้ง่าย แต่บางอย่างจำหน่ายได้ยาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคา ขนาดและชื่อเสียงของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ โดยทั่วไปแล้วหุ้นของบริษัทใหญ่ย่อมจำหน่ายได้ง่ายกว่าหุ้นของบริษัทเล็ก
         5.การกระจายเงินลงทุน (Diversification) ในการลงทุนไม่ควรทุ่มเงินลงทุนไปในหลักทรัพย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะถ้าธุรกิจนั้นเกิดล้มเหลว เงินที่ลงทุนไปนั้นจะสูญเสียไปทั้งหมด การกระจายการลงทุนจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนได้มาก
         6.หลักเกี่ยวกับภาษี (Tax status) ในการลงทุนต้องพิจารณาด้วยว่าผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องเสียภาษี หรือได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าต้องเสียภาษีด้วยจะทำให้ผลตอบแทนที่ได้จริงน้อยลง ฉะนั้นในการลงทุนผู้ลงทุนควรจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนภายหลังจากการหักภาษีแล้วหลักทรัพย์รัฐบาลย่อมได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นผู้ลงทุนจึงได้รับผลตอบแทนเต็มที่


กลยุทธ์การลงทุน (Investment strategies)


         ในการลงทุนจำเป็นต้องกลยุทธ์ หรือวิธีการอันแยบยลในการลงทุนเพื่อให้เกิดผลจากการลงทุนมากที่สุด หากไม่มีการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน อาจทำให้การลงทุนไม่ตื่นเต้น ไม่จุดหมาย และบางทีอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้ม ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ กำหนดเป้าหมายการลงทุน (Setting investment goals) เสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้


เป้าหมายการลงทุนของบุคคลและครอบครัว โดยทั่วไปมี 3 อย่างคือ
         1.เป้าหมายเพื่อเป็นเงินทุนยามฉุกเฉิน (Goals for precautionary funds) ทุกคนย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องการมีเงินสักก้อนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน โดยทั่วไปจะกันเงินประมาณ 6-7 เท่าของเงินเดือนมาเป็นเงินทุนสำหรับยามฉุกเฉินไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น เช่น กรณีที่เกิดตกงานขึ้นมาจะได้มีเงินจำนวนนี้ไว้ใช้จ่ายได้ในขณะที่กำลังหางานใหม่ เมื่อฉุกเฉินขึ้นมา ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะต้องนำไปลงทุนในทางที่มีความคล่องตัว ที่สุดและอย่างปลอดภัยที่สุด เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ดังนั้นจึงต้องมีเงินที่สามารถนำมาใช้ได้ในทุกเวลา
         2.เป้าหมายที่ใช้เงินทุนเฉพาะอย่าง (Goals for specific funds) เงินทุนเฉพาะอย่างที่จัดสรรไว้เป็นพิเศษในแต่ละเหตุการณ์แต่ละวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อใช้ตอนเกษียณอายุ หรือเพื่อใช้ทัศนาจรท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใดเหมือนกรณีเตรียมเงินทุนเผื่อยามฉุกเฉิน เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ เราทราบล่วงหน้าได้คาดคะเนได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เราจึงได้จัดวางแผนจัดเตรียมไว้และส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในอนาคต
         3.เป้าหมายเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการเก็งกำไร (Goals for speculation funds) เงินทุนสำหรับใช้เพื่อเก็งกำไรนี้หากเกิดสูญไปหรือขาดทุนขึ้นมาก็ไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีพปกติของเราเพราะ เป็นเงินที่ไม่ได้อยู่ใน การวางแผนการเงิน ปกติของบุคคล เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจึงสามารถนำมาลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูงได้


รูปแบบการออม
         เงินออมส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการฝากเงินก้อนกับธนาคารถึงร้อยละ 88 สูงกว่าร้อยละ 71 ในการสำรวจครั้งที่แล้ว สำหรับการออม ในรูปแบบ กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ลดลงค่อนข้างมากโดยลดลงในทุกภาคของประเทศนั้น ๆ สอดคล้องกับรายได้เฉลี่ยที่แท้จริง (หักลบด้วยเงินเฟ้อ) ที่ลดลง เนื่องจากผู้จะออมใน รูปแบบของประกันฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง สำหรับการออมใน รูปแบบอื่น ๆ เช่น การออมสหกรณ์และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย


ประโยชน์ของการออมต่อประเทศ
         1) การออมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นการช่วยสนับสนุนการลงทุน การผลิตของประเทศ และการจ้างงาน เป็นต้น
         2) สร้างเสริมความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบจาก ความผันผวนจากวิกฤติการณ์ ในตลาดเงินโลก โดยประเทศ ที่มีอัตราการออมสูง การลงทุนในประเทศก็ไม่ต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศมากนัก ตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์ และ ไต้หวัน ล้วนเป็น ประเทศที่มีการออมสูง ซึ่งสามารถพึ่งตนเองในด้านเงินทุน สำหรับใช้ในการพัฒนา จึงทำให้การพัฒนา ประเทศมี ความต่อเนื่อง และมั่นคง มีระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศต่ำ ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาเงินออมจากต่างประเทศ
         3) ค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดการกดดันทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
         ดังนั้นการออมจึงนับว่า มีความสำคัญค่อนข้างมากเพื่อยอมรับการลงทุน และเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และต่อผู้ออมเอง เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตในระยะยาว จึงขอเชิญชวนทุกท่านมารวมพลังสร้างกลุ่มวัฒนธรรมการออมใหม่ อย่างไรก็ตาม การออมคือการใช้จ่ายอย่างฉลาดมีแบบแผนและหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ ในทางตรงกันข้าม การออมไม่ได้หมายถึงการตระหนี้ถี่เหนียวจนเกินไปโดยไม่ใช้จ่ายจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน


รูปแบบการออมของครัวเรือน
         ผลการวิเคราะห์รูปแบบการออมของครัวเรือนเกษตรกรในชนบท ได้แก่ วิธีการออมครัวเรือนเกษตรกร วัตถุประสงค์ในการออม ผู้ที่ตัดสินใจในการออมของครัวเรือน ปัญหาการออมที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ รูปแบบการออมของครัวเรือน ที่คิดว่าเหมาะสม ดังมีรายละเอียดดังลำดับต่อไปนี้
         เกษตรกรในชนบทที่ทำการศึกษามีวิธีการออมหลายรูปแบบด้วยกันได้แก่ ออมไว้เองที่บ้าน นำไปลงทุนหาผลประโยชน์ ออมผ่าน สถาบันการเงินในระบบ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วเกษตรกรจะออมผ่านสถาบันการเงินในระบบถึงร้อยละ 47.9 ของครัวเรือน เกษตรกร ทั้งหมด สถาบันการเงินดังกล่าวคือ กลุ่มแม่บ้าน/กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้องละ 14.9, 12.8, 11.7, และ 8.5 ตามลำดับ เมื่อจำแนกครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ในการออม กล่าวคือ เกษตรกรมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการออม ได้แก่ ออมไว้ใช้จ่ายในเวลาจำเป็นฉุกเฉิน ออมไว้ใช้จ่ายบริโภคภายในครัวเรือน ออมไว้สำหรับการลงทุน ออมไว้เพื่อทำบุญ และออมไว้เพื่อชำระคืนเงินกู้ เป็นต้น การตัดสินใจการออมของครัวเรือนเกษตรกรนั้นมาจาก หัวหน้าครัวเรือน และสมาชิกในครัวเรือน ตัดสินใจร่วมกัน เช่นเดียวกันรูปแบบการกู้ยืม ซึ่งโดยภาพรวมแล้วปรากฏว่า การตัดสินใจในการออม ของครัวเรือนเกษตรกร มาจาก หัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกครัวเรือน
ตารางแสดงจำนวนครัวเรือนตัวอย่างจำแนกตามวิธีการออมของครัวเรือน


บ้านกฐินบ้านสระหลวงรวม
ออมไว้เองที่บ้าน
นำไปลงทุนหาผลประโยชน์ ออมผ่านสถาบันการเงินในระบบ
  • ธกส.
  • ธนาคารพาณิชย์
  • สหกรณ์การเกษตร
  • กลุ่มแม่บ้าน/กลุ่มออมทรัพย์
ไม่มีเงินออม 
32.0
2.0
42.0
14.0
12.0
10.0
6.0


28.0
25.0
6.8
54.5
9.1
13.6
6.8
25.0
20.5
28.7
4.3
47.9
11.7
12.8
8.5
14.9
24.5


หมายเหตุ บางครัวเรือนมีวิธีการออมทรัพย์หลายวิธี


ตารางแสดงจำนวนครัวเรือนตัวอย่างจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการออมทรัพย์ หน่วย : ร้อยละ
บ้านกฐินบ้านสระหลวงรวม
ใช้จ่ายในเวลาจำเป็นฉุกเฉิน
ใช้จ่ายบริโภค
ใช้จ่ายลงทุน
เพื่อทำบุญ
ชำระคืนเงินกู้
ออมไว้ตามระเบียบของสหกรณ์
ไม่มีเงินออม
40.0
42.0
24.0
2.0
0.0
4.0
28.0
52.3
25.0
20.5
2.3
2.3
0.0
20.5
45.7
35.1
26.6
2.1
1.1
2.1
26.6


หมายเหตุ บางครัวเรือนมีวัตถุประสงค์ในการออมทรัพย์หลายประการ


หลักการพื้นฐานในการตัดสินใจลงทุน
         ในกรณีที่รายได้สูงกว่ารายจ่าย ย่อมมีสะสมกันไว้เป็นเงินออมได้มากน้อย ตามความสามารถใน การจัดสรรรายจ่าย เพื่อการยังชีพ ของตัวเอง เงินออมจำนวนดังกล่าว ผู้ออมมักนำไปลงทุน ในการใดการหนึ่งให้มี ตอบแทนเพิ่มขึ้นมากกว่า จะเก็บเงินไว้เฉย ๆ โดยไม่ทำให้มี รายได้เพิ่มพูนขึ้นมา ผู้ออมสามารถนำเงินมาลงทุนได้ 2 ลักษณะ คือ
  1. การลงทุนโดยตรง หมายถึงการที่ผู้ลงทุนใช้เงินออมหรือเงินรายได้ของเขาลงทุนทำกิจการใดกิจการหนึ่ง โดยมีการดำเนินงานและการตัดสินใจต่าง ๆ ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดกำไรตามเป้าหมายที่วางไว้
  2. การลงทุนทางอ้อม หมายถึงการที่ผู้ลงทุนนำเงินออมของตนไปลงทุนผ่านสถาบันต่าง ๆ โดยที่สถาบันเหล่านั้น จะเป็น ผู้ดำเนินงาน และตัดสินปัญหาต่าง ๆ แทนผู้ลงทุนทั้งหมด ผู้ลงทุนไม่จำเป็น จะต้องเข้าไปมีส่วน หรือแม้กระทั่งควบคุม การบริหารงานของสถาบันนั้น ๆ แต่ถ้าสถาบันดังกล่าว ดำเนินการมีผลกำไรเกิดขึ้น ก็จะต้องนำรายได้เหล่านั้น มาจ่ายเป็นค่าตอบแทน ให้แก่ผู้ลงทุนในอัตราต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันไว้
         องค์ประกอบที่ผู้ลงทุนควรนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการ พิจารณาการลงทุนประกอบด้วยปัจจัย 6 ประการ คือ
  1. อุปนิสัยของผู้ลงทุน
  2. ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน
  3. ผลตอบแทนจากการลงทุน
  4. ระดับความเสี่ยงในการลงทุน
  5. สภาพคล่องของเงินลงทุน
  6. การกระจายเงินลงทุน
         โดยที่องค์ประกอบในการตัดสินใจลงทุนดังกล่าวข้างต้น ผู้ลงทุนจะต้องนำมา พิจารณาประกอบร่วมกัน โดยมิใช่เป็นเพียง การมุ่งพิจารณาในหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


อุปนิสัยของผู้ลงทุน
         ผู้ลงทุนจะตัดสินใจนำเงินออมของตนมาลงทุนหรือไม่ และลงทุนในรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับนิสัยของผู้ออมแต่ละคนว่า มีความพอใจ ที่จะเสี่ยงต่อการเลือกลงทุนประเภทใด และระดับความเสี่ยงเท่าใดที่จะยอมรับได้ เพราะผู้ออมที่ไม่ชอบความเสี่ยงภัย และพยายาม หลีกเลี่ยง ความเสี่ยงให้มากที่สุด อาจไม่ยอมนำเงินมาลงทุนใด ๆ แม้กระทั่งการลงทุนในสถาบันการเงินที่มั่นคงที่สุด เช่น การฝากเงินกับธนาคารของรัฐ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ในทางตรงข้ามผู้ออมที่มีนิสัยกล้าเสี่ยงและพอใจที่สูง หรือมีนิสัยชอบ การลงทุนโดยไม่สนใจว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีมากน้อยเพียงใดแล้ว ก็จะตัดสินใจลงทุน ได้ง่ายกว่าผู้ที่มีนิสัย ไม่ชอบการลงทุนดังกล่าวข้างต้น อีกประการหนึ่งนิสัยในการใช้จ่ายของผู้ลงทุนก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดถึงการตัดสินใจลงทุนได้เพราะผู้ที่มีนิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่ายย่อมต้องการรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อไว้ใช้จ่ายให้สะดวกตามนิสัยต่างกับผู้ที่มีอุปนิสัยประหยัดและมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง จึงย่อมมีความเกรงกลัวต่อการนำเงินไปลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนทางอ้อม เพราะจะไม่มีความมั่นใจว่า สถาบันเหล่านั้นจะสามารถจัดการเงินของเขาได้ดีกว่าตนเอง จึงไม่ยอมที่จะลงทุนเลยดีกว่า เพราะถึงอย่างไรผู้มีนิสัยประหยัดย่อมไม่มีโอกาสสูญเสียรายจ่ายที่ไม่สมควรไปโดยง่าย อีกทั้งการรู้จักเก็บออมก็จะทำให้เพิ่มเงินจำนวนมากขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องเสี่ยงที่จะนำเงินไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนใด ๆ อีก


ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน
         1.ออมที่มีเงินออมเพียงจำนวนจำกัดไม่มากนัก ย่อมมีโอกาสที่จะนำเงินไปลงทุนไปลงทุนได้น้อยกว่าผู้ที่มีเงินออมเป็นจำนวนมาก เพราะการลงทุนบางประเภทอาจจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การฝากเงินกับบริษัทเงินทุน หรือธนาคารพาณิชย์แบบประจำที่มีการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำเอาไว้ เช่น จำนวนเงินขั้นเริ่มแรกของการฝากอาจเป็น 10,000 บาท เป็นต้น
ความเสี่ยงการเก็งกำไร (Investment risks)
ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะสูญเสียของบางอย่าง เป็นต้นว่าผู้ลงทุนอาจจะสูญเสียเงินลงทุน สูญเสียดอกผล หรือสูญเสียอำนาจใน การซื้อของเงินลงทุนแล้วแต่ประเภทของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยทั่ว ๆ ไป ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับ อัตราตอบแทน มักดำเนิน ไปใน ทิศทางที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้าผู้ลงทุนมุ่งรักษาความปลอดภัยของเงินลงทุนไว้มาก ๆ ผลตอบแทนที่ได้รับมักจะต่ำ เช่น การฝากธนาคาร หรือลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลให้ความปลอดภัยสูงแต่ผลตอบแทนมักจะต่ำ แต่สำหรับความเสี่ยงภัยกับ อัตราความปลอดภัย ของเงินลงทุนนั้นมักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ ถ้าต้องการผลตอบแทนในอนาคตสูง ความเสี่ยงในการลงทุนมักจะสูงด้วย


ข้อเสนอแนะในการลงทุนส่วนบุคคล
         เมื่อผู้ลงทุนตัดสินใจที่จะลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือ การลงทุนโดยทางอ้อม สิ่งสำคัญที่ควรให้การพิจารณา เป็นอันดับแรกคือ การพิจารณาอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนนั้นๆ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สภาพความเสี่ยง และความสะดวก สบายในการลงทุน ตลอดจนการพิจารณากำหนดวงเงินที่จะลงทุน พฤติกรรมของผู้ลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยเฉพาะตัวบุคคลร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวด-ล้อมและความพอใจของผู้ลงทุนนั้น อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาทางเลือกในแต่ละแนวทางดังกล่าวข้างต้น ก็พอจะมองเห็นถึงแนวโน้มของการลงทุน ในแต่ละรูปได้อย่างกว้าง ๆ ว่า ถ้าเป็นการลงทุนโดยตรงที่เจ้าของเงินทุนยินดีสละเงินทุนและเวลาเพื่อเผชิญกับความเสี่ยงในการดำเนินงานแลกกับผลตอบแทนที่จะได้รับแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องมีความรับผิดชอบ และใช้ความสามารถส่วนตัว ในการบริหารเงินทุน เพื่อหวังผลกำไรตามจุดมุ่งหมาย ที่วางไว้ซึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยเฉพาะบุคคลของผู้ลงทุนจริง ๆ รวมถึงสภาวะแวดล้อมต่างๆ ของการดำเนินกิจการ ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการธุรกิจ ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ ที่เป็นอยู่ในขณะนั้นด้วย แต่ถ้าเป็นการลงทุนโดยทางอ้อมผ่านสถาบันการเงินต่างๆ แล้วพอจะสรุปได้ว่า การเลือกลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงินของรัฐบาล จะทำให้ผู้ลงทุนมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่ต่ำด้วย
ส่วนการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงินของเอกชนผู้ลงทุนจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยและมีความเสี่ยงสูงตามขึ้นด้วย สำหรับการลงทุน ในหลักทรัพย์และการลงทุนในตลาดเงินนอกระบบ จะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนสูงมาก โดยมีความเสี่ยงใน ระดับที่สูงมาก เช่นกัน ผู้ลงทุนในเงินออมที่ไม่หวังผลตอบแทนสูงมากนัก กล่าวคือเป็นเพียง การรักษามูลค่าของเงินออมที่มีอยู่ ไม่ให้มีอำนาจซื้อเปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพเงินเฟ้อ จนเป็นผลให้มูลค่าของเงินลดลงและไม่ว่ามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในจำนวนเท่าเดิม หรือผู้ลงทุน ที่ยังมีความจำเป็น จะต้องใช้เงินออมส่วนนี้อยู่บ้างในกรณีที่เกิดรายจ่ายฉุกเฉินขึ้นและต้องการให้สภาพคล่องของเงินลงทุนอยู่ใน ระดับที่ค่อนข้างสูง สามารถเบิกเงินสดมาใช้จ่ายได้โดยง่ายแล้ว การฝากเงินออมทรัพย์กับสถาบันการเงินของรัฐบาลหรือเอกชนจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ในทางตรงกันข้ามที่ผู้ลงทุนไม่มีความจำ-เป็นจะต้องใช้เงินออมโดยแน่นอน เนื่องจากเงินออมนั้น เป็นเงินคงเหลือจากการใช้จ่ายที่จำเป็น ภายในครอบครัวแล้วอย่างแท้จริง จึงสามารถนำเงินไปลงทุนได้ตลอดไปเป็นระยะเวลานาน การฝากเงินประจำกับ สถาบันการเงินของรัฐบาล หรือเอกชนจะเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลเพราะผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นโดยมี ระดับความเสี่ยงต่ำ และผู้ลงทุนจะต้องแน่ใจจริง ๆ ว่าเขาไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินจำนวนนั้นอย่างแน่นอน เพราะการถอนเงินก่อนกำหนดระยะเวลาผู้ลงทุน จะมีข้อเสียเปรียบ ในการได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ต่ำลงกว่าการฝากเงินแบบออมทรัพย์ ส่วนระดับความเสี่ยงสภาพคล่อง และความสะดวก จะอยู่ในวิจารณญาณและความพอใจของผู้ลงทุนเองว่าเขาพอใจที่จะรับภาระความเสี่ยงและ และมีความต้องการใช้เงินสดในอนาคตมากน้อยเพียงใด
พฤติกรรมในการลงทุนของแต่ละบุคคลจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนได้เป็นอย่างมากดังนั้นการกำหนดแนวทางเลือกลงทุนของ แต่ละบุคคลจึงขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจและความมั่นคงในทางอารมณ์ของผู้ลงทุนเองว่าเขาจะสามารถรับภาวะความเสี่ยงได้ในระดับใด บุคคลที่ไม่ชอบความเสี่ยงภัยก็มักจะเลือกลงทุนในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยยินยอมที่จะได้รับผลตอบแทนเพียงในจำนวนน้อย และคิดว่าการลงทุนเป็นระยะเวลานานในอัตราผลตอบแทนที่แน่นอนสม่ำเสมอ ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเงินจำนวนไม่สูงมากนัก ก็อาจสะสม ให้เป็นจำนวนเงินมากในอนาคตได้ แต่การพิจารณาถึงค่าเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในระดับจำนวนสูงโดยยอมรับสภาพความเสี่ยงเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อยก็น่าจะเป็นประเด็น สำคัญที่ผู้ลงทุนจะนำมาวิเคราะห์ตัดสินใจลงทุนนอกจากนั้นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไว้หลายๆสถาบัน ทั้งสถาบันที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ระดับความเสี่ยงปานกลาง และระดับความเสี่ยงค่อยข้างสูง ไว้ในการลงทุนคราวเดียวกันก็จะเป็นแนวทางการตัดสินใจลงทุนที่ดีประการหนึ่ง เพราะผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น โดยมีความเสี่ยงเฉลี่ยมากน้อยต่างๆกัน และถึงแม้ว่าผู้ลงทุนจะพลาดหวังในการลงทุน ที่มีระดับความเสี่ยงสูง แต่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับในจำนวนมาก ก่อนหน้านั้นก็จะสามารถ ชดเชยความสูญเสียได้บ้าง อีกประการหนึ่งผู้ลงทุนก็ยังไม่ถึงกับล้มเหลวในการลงทุนเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีเงินลงทุนทีมีความเสี่ยงต่ำเหลืออยู่อีก ผู้ลงทุนที่สนใจการลงทุน และมีความมั่นคงทางอารมณ์สูง จนสามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงได้ทุกสภาวะแล้ว
การตัดสินใจลงทุนในตลาดเงินนอกระบบจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูงมากแต่ก็จะมีความปลอดภัยของเงินทุนต่ำมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามการลงทุนในรูปแบบที่มีความเสียงสูงเพียงอย่างเดียว โดยไม่การจัดสรรเงินออมบางส่วนไว้ลงทุนในรูปแบบอื่นที่ความ-เสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงระดับต่ำบ้าง อาจทำให้ผู้ลงทุนสิ้นเนื้อประดาตัวได้ในอนาคต หรืออาจกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ในพริบตาเช่นกัน แต่ผู้ลงทุนที่กล้าได้กล้าเสียในลักษณะนี้จะไม่ถือว่ามีการลงทุนเป็นไปตามหลักการลงทุนแบบ Portfolio management เลย นอกเสียจากว่าเขาได้มีการตัดสินใจด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเท่านั้นอย่างไรก็ตามถ้าการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนจากเงินออมส่วน ที่เหลือจากการใช้จ่ายที่จำเป็นแล้วอาจไม่มีผลต่อรายได้ของครอบครัวมากนัก
ตามหลักการลงทุน ที่จะทำให้ผู้ลงทุนมีการกระจายเงินลงทุน โดยไม่เลือกลงทุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว ( Portfolio management ) ก็คือการลงทุนผสมกันระหว่างรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำปานกลาง และสูง รูปแบบของการลงทุนอย่างหลักๆ สามารถสรุปได้ดังตาราง


ลักษณะการลงทุน
จำนวนเงินลงทุนในแต่ละระดับความกล้าเสี่ยงของผู้ลงทุน
ต่ำมาก
มาก
ปานกลาง
สูง
สูงมาก
การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
ทั้งหมด
มาก
ปานกลาง
น้อย
-
การลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง
-
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
-
การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง
-
น้อย
ปานกลาง
สูง
ทั้งหมด
ผลตอบแทนของ Portfolio
ต่ำมาก
ต่ำ
ปานกลาง
ค่อนข้างสูง 
สูงมาก
ความปลอดภัยของ Portfolio
สูงมาก
สูง
ปานกลาง
ค่อนข้างต่ำ
ต่ำมาก




         จากตารางจะเห็นได้ว่า ถ้าพฤติกรรมในการลงทุนของผู้ลงทุนมีระดับความกล้าเสี่ยงต่ำมากแล้ว เขาจะเลือกลงทุนเฉพาะที่มีความเสี่ยงต่ำเท่านั้นจึงทำให้มีผลตอบแทนของการกระจายเงินลงทุน (Portfolio ) ค่อนข้างต่ำด้วยเช่นกัน และอาจสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถ้าผู้ลงทุนกล้าที่จะรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย ในทางตรงข้ามถ้าผู้ลงทุนมีระดับความกล้าเสี่ยงสูงมาก เขาจะเลือกลงทุนในลักษณะที่มีความเสี่ยงสูง โดยมีผลตอบแทนของ Portfolio สูงมากและมีความปลอดภัยของเงินลงทุนต่ำมาก สำหรับผู้ที่มีความกล้าเสี่ยงเพียงปานกลางก็จะกระจายการลงทุนไปในรูปของการลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง และได้รับผลตอบแทนในการกระจายเงินลงทุนเพียงปานกลาง ดังนั้นการเลือกลงทุนที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการกล้าเสี่ยงที่จะลงทุนของแต่ละบุคคลว่า เขาจะเลือกสถาบันการเงินที่มีระดับความเสี่ยงใดจึงจะเป็นที่พอใจ รวมถึงความสะดวกในการลงทุนและสภาพคล่องที่ต้องการ
         อย่างไรก็ตามถ้าผู้ลงทุนมีเงินลงทุนเพียงจำนวนจำกัด จนไม่สามารถจะกระจายเงินลงทุนไปได้และมีความจำเป็นจะต้องตัดสินใจเลือกลงทุนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้ลงทุนจึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการลงทุนเป็นประการสำคัญ ดังนั้นการเลือกสถาบันการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องของเงินลงทุนสูง จึงควรได้รับการพิจารณามากกว่าสถาบันที่มีความเสี่ยงสูงและมีสภาพคล่องของเงินลงทุนต่ำ